เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทยทุกคน โดย ยึดหลักทางสายกลางกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
การเลือกใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทำให้ชีวิตของเราสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องไปเดือดร้อนใคร และไม่ต้องมานั่งคิดนั่งกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจจะตามมา เพราะเราสามารถที่จะบริหารและจัดการได้ด้วยตนเอง ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มอบเอาไว้ให้
การดำรงชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมอบแนวทางเพื่อเป็นการชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตต่างๆ ให้อยู่ในทางสายกลางได้ ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ในการพัฒนาประเทศจำเป็นมากเลยที่เราจะต้องพัฒนาประเทศของเราให้เป็นไปในทิศทางที่ดี ต้องสร้างพื้นฐานต่างๆ คือ ความพอมีพอกิน ของประชาชนเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ ต้องค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้มันสูงขึ้นไป
สำหรับเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นเพียงแค่ปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่นำเอามาชี้แนะและปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน เพื่อให้รู้จักความพอเพียง และสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
โดยจะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวัง การวางแผนที่ดีนั้นต้องทำอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนี้ การที่เราปฏิบัติตัวตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร เราก็สามารถอยู่รอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตออกมาดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเดียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนั้นจริงๆ แล้วเราสามารถอธิบาย ได้ดังต่อไปนี้
- ความพอประมาณ เราต้องมีความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นๆ เช่น การผลิต การบริโภคอาหารที่พอประมาณ ไม่ควรกินทิ้งกินขว้าง เพราะมันสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
- มีเหตุผล การที่เราใช้หลักของเหตุผลในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ นั้น เราควรมีความรอบครอบและพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้ดี ควรคิดผลย้อนกลับมาด้วยว่า เมื่อเราตัดสินใจไปแล้วมันจะมีอะไรเกิดขึ้นกลับมาหรือไม่ เพราะ ถ้าเราตัดสินใจผิดพลาด เราจะได้หาวิธีแก้ไขได้ทัน ฉะนั้น ความมีเหตุผลมันก็จะเป็นสิ่งที่จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างดีและไม่มีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้
- การมีภูมิคุ้มกันที่ดี สำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในรอบๆ ตัวเรานั้น เราต้องมีความคิดและสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้หลุดรอดออกไปให้ได้ด้วย ควรคำนึงด้วยว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น มันมีความเป็นไปได้อย่างไร แล้วสถานการณ์ในตอนนั้นเราจะสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง โดยส่วนที่สำคัญในการทำให้เกิดปัจจัยดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นได้นั้น เราต้องอาศัยความรู้และคุณภาพ เป็นเงื่อนไขของพื้นฐานต่างๆ โดยเงื่อนไขที่เราต้องรู้และสามารถเอาตัวรอดได้แบ่งออกได้เป็นสองแบบดังต่อไปนี้
1.เงื่อนไขทางด้านความรู้ คือ เราก็จะต้องมีทั้งความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง มีแบบแผนในการทำงานที่จะทำให้เราสามารถปฏิบัติการทำงานได้เป็นอย่างดี ทำให้การทำงานต่างๆ ของเราออกมาอย่างสมบูรณ์มากที่สุด และที่สำคัญเงื่อนไขทางด้านความรู้นั้นยังทำให้เราตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรในการใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตที่ดีได้
2.เงื่อนไขคุณธรรม เป็นความตะหนักในเรื่องคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตมีความอดทน มีความเพียรในการใช้สติปัญหาในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการหลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด จะเป็นกรอบแนวความคิดหลักของปรัชญา มุ่งเน้นความมั่นคงทางด้านต่างๆ ความยั่งยืนของการพัฒนา ที่จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ สามารถที่จะเอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ให้ความสำคัญกับคำว่าพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี ในภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และคุณธรรมเข้ามาช่วยด้วย
สรุป :
ฉะนั้นแล้ว ถ้าหากใครที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำไปปฏิบัติใช้นั้นก็จะส่งผลทำให้การดำเนินชีวิตของเรามีความประสบสำเร็จมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาที่มีความสมบูรณ์และสมดุลและยั่งยืนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้นด้วย