เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้นก็ได้พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่คนไทยชาวไทยมาโดยตลอดและเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเป็นอย่างมาก
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็เป็นคำสอนที่จะทำให้มนุษย์รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง กิน อยู่ อย่างประหยัด ทำให้ชีวิตนั้นมีแต่ความสุข สามารถที่จะช่วยในการแก้ไขต่างๆ ที่อาจจะเข้ามาในชีวิตที่เราอาจไม่สามารถตั้งตัวได้ทัน โดยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจริงๆแล้วหลายๆคนก็อาจจะคิดว่าจะต้องประหยัดอย่างเดียว
แต่ถ้าเราเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและนำไปใช้ควบคู่กับชีวิตประจำวันได้นั้นก็ย่อมจะทำให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปด้วยดีนั่นเอง อย่างไรก็ตามนั้น เศรษฐกิจพอเพียงกับความพอประมาณ เราก็สามารถที่จะอธิบายได้ดังต่อไปนี้
ความพอประมาณ
ความพอประมาณ ก็คือ ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่ต้องไปเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นมากนัก เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในลักษณะที่พอดี นอกจากนี้ความพอประมาณนั้นก็ยังนำไปสามารถที่จะพัฒนาประเทศของเราให้มีความเจริญรุ่งเรืองได้เป็นอย่างดีด้วย
การพัฒนาประเทศไทยนั้นก็ไม่ได้มีแบบอย่างที่ตายตัวอะไร แต่เราก็จะต้องดุตามสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมชุมชน ที่มีความหลากหลาย ซึ่งในความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เราก็จะต้องเข้าใจด้วยว่าในทุกวันนี้โลกของเราก็ได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างรวดเร็วมาก ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมากที่เยอะอยู่เหมือนกัน ซึ่งเราก็จะต้องหาวิธีการหรือหาความพยายามในการที่จะเลือกใช้วิธีการดำรงชีวิตให้อยู่กับสภาพในปัจจุบัน สามารถที่จะเอาตัวรอดได้เป็นอย่างดี ในยุคนี้ถ้าหากเราไม่รู้จักปรับตัวนั้นก็อาจจะทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ฉะนั้นจากแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเป็นแนวทางที่จะให้ประชาชนนั้นสามารถที่จะดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่จะมีความสมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับไว้ ซึ่งจริงๆ แล้วหลักของการพึ่งพาตัวเองให้สามารถอยู่รอดได้นั้นที่เกี่ยวข้องกับความพอดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็จะมีดังต่อไปนี้
5 สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความพอดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ความพอดีในทางด้านจิตใจ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่เราจะต้องทำสภาพจิตใจของเราให้มีความเข็มแข็ง สามารถที่จะพึ่งตนเองได้เป็นอย่างดี มีจิตใต้สำนึกที่ดี มีความเอื้ออาทร ประนีประนอม ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมเป็นหลัก ไม่เอาแต่ใจตัวเอง ข้อนี้ถือเป็นการอยู่ร่วมกับสังคมที่ดีมากถ้าหากเราทำได้จริงๆ
2.ความพอดีด้านสังคม ซึ่งไม่ว่าเราจะอยู่ร่วมกับใครก็ตามนั้น เราก็จะต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถที่จะต้องสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญเราก็จะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มีความมั่นคงเป็นอย่างมาก ซึ่งในการช่วยเหลือเราก็จะต้องรู้ถึงความพอประมาณด้วยไม่ควรที่จะทุ่มใจไปทั้งหมด แค่อยู่ในระดับพอดิบพอดีก็น่าจะเพียงพอแล้ว
3.ความพอดีในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งในการดำรงชีวิตอยู่ในทุกวันนี้นั้นเราก็จะต้องรู้จักใช้และจัดการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดและมีความรอบคอบเป็นอย่างมากด้วย เพื่อที่ทรัพยากรเหล่านี้นั้นก็จะได้มีให้เราใช้ไปนานๆ การที่เราใช้ทรัพยากรต่างๆ
ในประเทศอย่างไม่รู้จักพอ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อภายหลังได้ เช่น อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจจะต้องมีการนำเข้าทรัพยากรอื่นๆ จากประเทศอื่นมาใช้ในประเทศตนเอง ซึ่งสิ่งนี้ก็อาจจะต้องทำให้เสียเงินจำนวนมากด้วยเช่นกัน
4.ความพอดีในทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ โดยในทุกวันนี้ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่าเทคโนโลยีก็ได้มีการพัฒนาไปตามรูปแบบต่างๆ ที่เยอะเป็นอย่างมาก เราก็จะต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์และมีความเหมาสมให้มากที่สุด ควรที่จะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดความคุ้มค่า
5.ความพอดีในทางด้านเศรษฐกิจ เราก็จะต้องหาวิธีในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สามารถที่จะดำรงชีวิตที่เป็นไปได้ดีและอยู่ในระดับที่พอสมควร พออยู่ พอกินตามอัตภาพ และจะต้องสามารถสร้างฐานะของตนเองให้อยู่ในระดับที่ไม่เดือดร้อนได้
ในการหารายได้ให้กับตนเองถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่ทุกคนนั้นก็จะต้องทำกันอย่างแน่นอน ซึ่งในการหายรายได้ เราก็ควรที่จะต้องเลือกงานที่สุจริต และสามารถทำแล้วมีความสุขได้ด้วย
ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าการพัฒนานั้นก็จะต้องเริ่มจากการสร้างพื้นฐานสิ่งต่างๆ ความพอกินพอใช้ของประชาชนในชาติให้อยู่ดีกินดีอย่างมีความสุข เมื่อเราสร้างในสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดีแล้วนั้นเราก็ค่อยมาเสริในร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้เป็นไปในทิศทางที่ดีตามลำดับ
เพื่อที่จะได้เกิดสมดุลทางด้านต่างๆ หรือเป็นการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน ในการสร้างความพร้อมสิ่งต่างๆ ที่เรากล่าวมาทั้งหมดนั้นเราก็จะต้องมีการพัฒนาอย่างเหมาะสม ควรค่อยๆ เป็นค่อยไปไม่ควรที่จะก้าวกระโดดเพราะบางทีก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามหลังมาก็ได้
สรุป:
ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงกับความพอประมาณ ก็จะเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนจะสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่ทุกคนก็จะต้องสามารถที่จะกำหนดความพอดีในสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและลงตัวด้วย ไม่เช่นนั้นเราก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาเหมือนกับที่ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ผ่านมาได้เช่นกัน